สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนครับ วันนี้ได้นำเรื่องที่เป็นหนึ่งในประเด็นแห่งยุคปัจจุบัน มาพูดคุยกับเพื่อนๆกัน นั่นก็คือ “สังคมผู้สูงอายุ” นั่นเอง ซึ่งได้สรุปข้อมูลลงในแต่ละรูปภาพให้เพื่อนๆ อ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายๆ เลยครับ
เพื่อนๆ รู้ไหมครับ ว่าประชากรโลกของเรานั้นมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกเวลา ในขณะที่อัตราการเกิดของทั่วโลกกลับน้อยลงอย่างสวนทิศทางกัน ทำให้ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงประเทศไทยเองก็เช่นกัน
โดยองค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามกับผู้สูงอายุไว้ว่า ผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และได้แบ่งความเข้มข้นของสังคมผู้สูงอายุไว้ 3 ระดับ คือ
1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) หมายถึง มีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ของประชากรทั้งประเทศ
2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) หมายถึง มีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ
3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged Society) หมายถึง มีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 21% ของประชากรทั้งประเทศ
ในปัจจุบันนั้น ประชากรของโลกมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น โดยมีสาเหตุหลักมาจากสองปัจจัยสำคัญ คือ
1. เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้อายุของประชากรยืนยาวมากยิ่งขึ้น
2. ประชากรที่เกิดในยุค Baby Boomer (เกิดตั้งแต่ปี 1946 – 1964) ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ เป็นปัจจัยที่ทำให้หลายประเทศในโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคมที่สำคัญ นั่นคือ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรสูงอายุ
ข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) คาดการณ์ว่าในปี 2050 ผู้สูงอายุทั่วโลกจะมีจำนวนกว่า 2,000 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรโลกทั้งหมด
สำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น ผลสรุปในปี 2021 พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน คิดเป็น 13.54% หรือประมาณ 9.4 ล้านคน จากประชากร 69.9 ล้าน
สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยนั้นแท้จริงแล้วพบว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งมีจำนวนผู้สูงอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ล้านคน และภายในปีหน้าสถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทยจะรุนแรงขึ้น คาดการณ์ว่าจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากจะมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่า 14% จากประชากรทั้งหมด วาระสังคมผู้สูงอายุ จึงถือเป็นหนึ่งใน วาระแห่งชาติของไทย
สรุปผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยในเชิงกว้างและมีผลอย่างรุนแรง
1. แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจลดลง เนื่องจากกำลังแรงงานไม่เพียงพอ
2. แรงงานในตลาดน้อยลง ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีมากขึ้น
3. อัตราการบริโภคของประเทศไทยชะลอตัว เนื่องจากค่าใช้จ่ายการดูแลในครัวเรือนสูงขึ้น รายรับในครอบครัวไม่เพียงพอ
4. รายได้จากภาษีของรัฐลดน้อยลง ขณะที่รายจ่ายด้านสุขภาพประชาชนเพิ่มขึ้น
5. ตลาดแรงงานประสบปัญหา จำนวนแรงงานลดน้อยลง ค่าจ้างแรงงานทุกระดับจะแพงขึ้น
ข้อแนะนำต่อธุรกิจเมื่อยุคสมัยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
1. รูปแบบการจ้างงานต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น พนักงานสามารถทำงานจากบ้านได้ หรือทำพร้อมกันหลายอาชีพ
2. การจัดสวัสดิการให้กับพนักงานจะต้องมีความครอบคลุม สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในการทำงานร่วมกับบริษัท และสวัสดิการดูแลอย่างรอบด้าน ดูแลทั้งตัวพนักงานและครอบครัว
3. การจ้างงานผู้สูงอายุที่ยังมีประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นนโยบายของหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มแรงงานที่ยังมีประสิทธิภาพเข้าสู่ตลาด
4. ใช้บริการบริษัทจัดหางาน เพื่อเข้าถึงแรงงานที่ตรงตามความต้องการของบริษัทได้อย่างรวดเร็ว
รักทุกคนเสมอครับ
www.peopleone.co.th
Tel : 02-661-7797
E-mail : info@peopleone.co.th