เตรียมรับมือกับยุคค่าแรงขาขึ้น
ข่าวคราวการขึ้นค่าแรงสร้างความตื่นตัวให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมและฝ่ายบุคคลจำนวนมาก การขยับค่าจ้างขั้นต่ำจาก 354 บาท สู่ ~450 บาท คือการขึ้นค่าจ้างราว 35% จากอัตราเดิม ในแง่ของอุตสาหกรรมเท่ากับต้นทุนเพิ่มขึ้นทันทีจากค่าจ้างแรงงานตามกฎหมาย หากเราย้อนประวัติศาสตร์การขึ้นค่าจ้างครั้งใหญ่ ครั้งสำคัญของไทยย่อมไม่พ้น
การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจาก 221 บาท ไปเป็น 300 บาทในปี 2555 คิดเป็นราว 35% เช่นเดียวกัน นับจากวันนั้นถึงวันนี้ อัตราการขึ้นค่าจ้างของไทยก็ชลอตัว อันเนื่องมาจากสภาวะโรคระบาดและเศรษฐกิจเติบโตต่ำเสมอมา
หากพิจารณาภาพรวมของอาเซียน เราพบว่าประเทศไทยมีค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยสูงเป็นอันดับที่ 5 จากทั้งหมด 10 ประเทศ ในขณะที่ประเทศไทยมีค่าครองชีพสูงเป็นลำดับที่ 35 ของโลกและสูงเป็นลำดับ 2 ของอาเซียน เป็นที่น่าสังเกตเสมอมาว่าทำไมรายได้และรายจ่ายของคนไทยจึงสวนทางกัน ด้วยเหตุนี้ การขึ้นค่าจ้างจึงเป็นหนึ่งในนโยบายที่ภาครัฐหยิบยกขึ้นมาพูดคุยและผลักดันเสมอๆ แต่ด้วยหลายปัจจัยที่ผ่านมาทำให้การขึ้นค่าจ้างไม่ง่ายต่อการนำไปบังคับใช้เท่าไหร่นัก เนื่องจากเกี่ยวเนื่องและมีผลกระทบกับหลากหลายฝ่าย จึงหาข้อตกลงกันได้ยากในการพิจารณาปรับค่าจ้างแต่ละครั้ง
เมื่อเราย้อนดูผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศไทยในช่วง 2554 ประเทศไทยมี GPD 370.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และขึ้นเป็น 397.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 420.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีถัดมาตามลำดับ ภายหลังการขึ้นค่าจ้าง ในขณะที่ความกังวลของภาคอุตสากรรมในขณะนั้นไม่ต่างอะไรจากตอนนี้ คือการขึ้นของค่าจ้างจะนำไปสู่การล่มสลายของภาคอุตสาหกรรมที่แบกรับต้นทุนไม่ไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมขนาดย่อม (SME) วันนี้ People One อยากชวนผู้ประกอบทุกท่านมาหาวิธีรับมือเรื่องนี้ในอีกทางหนึ่ง เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ
มุมมองของ People One
จากการอยู่ในแวดวงประสบการณ์งาน HR มากกว่า 20 ปี เรามองว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการขึ้นค่าจ้างได้ อันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และค่าครองชีพ นอกจากนี้การควบคุมค่าจ้างให้ต่ำคือ ความคิดที่อาจจะเป็นไปได้ยากในยุคสมัยนี้ สำหรับประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากปัจจุบัน มีอาชีพที่หลากหลายมากกว่าในอดีต และการทำงานไม่จำเป็นต้องผูกขาดกับองค์กรต่างๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมอีกต่อไป
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีอาชีพเกิดใหม่จำนวนมากที่อาศัยเทคโนโลยีในการสร้างรายได้ และความหลากหลายทางอาชีพแบบที่เราเองแทบไม่เคยรู้จัก เช่น นักรีวิว ยูทูปเบอร์ ติ๊กต๊อกเกอร์ ใครจะไปคาดคิดได้ว่า การนอนโรงแรมที่ชอบสามารถนอนได้ฟรีและสร้างรายได้ด้วยการทำรีวิวได้อีกทาง นอกจากนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบส่วนบุคคลก็นำไปสู่การเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น ยิ่งในยุคสถานการณ์โรคระบาดด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เราเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นไปได้ และไม่ใช่ยุคของการผูกขาดในการทำธุรกิจอีกต่อไป แรงงานจำนวนมากเลือกจะสร้างอาชีพของคนเองโดยไม่ยึดโยงตลาดแรงงาน ไม่เพียงเท่านี้สังคมผู้สูงอายุยังเป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานเพิ่มมากขึ้นด้วย
จากสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้เราจะเห็นได้ว่า อำนาจของการต่อรองเริ่มกลับไปอยู่ฝั่งลูกจ้างมากขึ้น ถ้าองค์กรไม่สามารถเติมเต็มชีวิตและรายได้ที่เหมาะสมเพียงพอต่อลูกจ้างแล้ว โอกาสที่องค์กรของคุณจะอยู่ในสภาวะขาดคนทำงานนั้นไม่ไกลเกินจริง
ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในสภาวะของกลุ่ม Non-Skill ในช่วง E-Commerce เบ่งบานจากสถานการณ์โรคระบาด เราพบว่าอัตราค่าจ้างของกลุ่มแรงงานที่ใช้ในคลังสินค้า สูงขึ้นไปถึงระดับ 500 – 700 บาทต่อวัน ซึ่งนั่น สูงขึ้นเกือบเป็น 2 เท่าของค่าจ้างขั้นต่ำเลยทีเดียว แต่ด้วยเหตุผลว่า ธุรกิจนั้นจำเป็นต้องใช้แรงงานเพื่อขับเคลื่อน และโมเดลธุรกิจสอดคล้องต่อการใช้แรงงาน ก็สามารถจัดจ้างในราคาสูงได้โดยไม่จำเป็นต้องยึดโยงกับค่าจ้างขั้นต่ำ
ในมุมมองของ People One มองว่าหากเกิดการขึ้นค่าจ้างในรูปแบบนั้นจริง จะมีแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นหมายถึง อาจเกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและลดการพึ่งพิงแรงงาน ส่งผลให้อุตสาหกรรมเก่าบางประเภทที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลักอาจแข่งขันได้ยากขึ้น
เมื่อเกิดสภาวการณ์ดังกล่าว ตลาดแรงงานจะมีความต้องการแรงงานระดับทักษะ (Skilled Labor) เพิ่มขึ้นมากยิ่งขึ้น เป็นปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงระดับอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง ทำให้การพัฒนาประเทศจะเป็นไปอย่างก้าวกระโดด เฉกเช่นเดียวกับ สิงคโปร์ ที่แทบไม่มีอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานไร้ฝีมือ แต่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและแรงงานที่มีฝีมือระดับสูง
นั่นหมายความว่า การพัฒนาแรงงานเป็นวาระเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันผลักดัน แม้กระทั่งตัวแรงงานเอง เพราะที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานระดับทักษะ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ มีคนว่างงาน และตำแหน่งงานว่าง แต่ไม่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้
ข้อแนะนำต่อผู้ประกอบการ
ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการ ต้องมองการบริหารในมิติใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่ คุณค่าของผลิตภัณฑ์ หรือ Product Value เพื่อเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อลดการพึ่งพิงแรงงานระดับค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เป็นการจ้างงานมูลค่าสูง ในขณะที่การจ้างค่าจ้างขั้นต่ำไปกับงานที่ไม่มีคุณค่า ผู้ประกอบการควรปรับเปลี่ยนวิธีการ ทั้งการลดขั้นตอน หรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้
ซึ่งจริงๆ แล้ว เราเห็นพัฒนาการ การลดการใช้แรงงานด้วยเทคโนโลยีมาสักระยะแล้ว เช่น การปรับระบบบัตรจอดรถขาเข้าห้างสรรพสินค้า และเราเริ่มเห็นว่ามีการให้ผู้ใช้บริการจ่ายค่าจอดรถด้วยตนเอง การใช้ระบบ Easy pass ของทางด่วน การใช้เครื่องเช็คอิน หรือ การผ่านตรวจคนเข้าเมือง การใช้ Vending machine ต่างๆ แม้กระทั่งตู้ปรุงเครื่องดื่มสำเร็จรูป นอกจากจะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ตลอดเวลา และยังสามารถลดต้นทุนเรื่องการใช้แรงงาน
เพื่อให้ประเทศไทยสามารถจัดสรรแรงงานไปพัฒนาฝีมือและใช้ในธุรกิจมูลค่าสูงได้ และต้องตั้งหลักสำคัญให้ได้คือ การจ่ายค่าจ้างตามความสามารถ ไม่ใช่การจ่ายค่าจ้างตามอัตราขั้นต่ำ หากผู้ประกอบการพิจารณาแล้วว่า งานที่ท่านกำลังจะจ้าง ไม่ควรจ่ายเกินกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ นั่นหมายความว่างานนั้นมีคุณค่าน้อยกว่าค่าจ้างที่ท่านยอมจ่าย ท่านจึงควรปรับปรุงกระบวนการโดยเร็วที่สุด แทนการหาคนที่จะยอมรับค่าจ้างในราคาต่ำนั้นมาทำงานกับเรา
ข้อแนะนำต่อแรงงาน
เมื่อภาคธุรกิจปรับตัว แรงงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มเติมความสามารถให้ทัน เพื่อไม่ให้ตกรถไฟขบวนนี้ แรงงานต้องตระหนักรู้ว่า ตนเองเก่งอะไรเพื่อพัฒนาจุดที่ตนเองเก่งและทำได้ดี และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานหรือไม่ ซึ่งนั่นจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับสูง
เมื่อธุรกิจไปได้ดี มีกำไร ก็สามารถปันผลกำไรมาดูแลพนักงาน เกิดวงจรของความเจริญที่ทำให้ธุรกิจเติบโต แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมและประเทศชาติก็ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมที่เราทำ หลุดพ้นจากกับดักรายได้ขั้นต่ำหรือรายได้ปานกลางในที่สุด
ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันขับเคลื่อน ผู้ประกอบการเองต้องเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และแรงงานเองก็ต้องเพิ่มทักษะตนเองให้สามารถตอบสนองกับธุรกิจยุคใหม่ได้
People One ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมนี้
หาคนไม่ทัน People One จัดให้ หากท่านจำเป็นต้องสรรหาแรงงานและมองหาผู้ช่วยที่จะทำให้ขับเคลื่อนการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรึกษา People One ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ร่วมสร้างประเทศไทยให้แข็งแรง
รักทุกคนเสมอครับ
www.peopleone.co.th
Tel : 02-661-7797
E-mail : info@peopleone.co.th